วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

รีวิวกายบริหารศีรษะ

      ท่ากายบริหารศีรษะในหนังสือ ชะลอวัยด้วยกายบริหาร นั้น 7ท่าแรก มาจากท่าที่ รศ.นพ. กรุงไกร เจนพานิชย์ ใช้นวดถนอมสายตา ส่วนอีก3ท่า คิดค้นโดย อ.สุวรรณ ตั้งจิตรเจริญ   แต่ผู้เขียนขอรีวิวแค่ 3ท่าที่ใช้บ่อย คือ
     1.ท่าตบท้ายทอย ใช้ฝามือทั้ง2ข้างปิดหูไว้ โดยให้ปลายนิ้วทั้ง2ข้างอยู่ตรงท้ายทอย ใช้มือทั้งสองข้างตบท้ายทอยโดยไม่ยกฝ่ามือ ไม่ต้องแรงมาก 10ครั้ง ท่านี้ช่วยกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองดีขึ้น ผู้เขียนใช้ตอน นั่งทำงานหน้า คอมพิวเตอร์ เวลามืนๆ ตบแล้วรู้สึกกระตุ้นสมองดี แต่เวลาปวดคอปวดหัวมากๆ ท่านี้ไม่ได้ผล จะใช้วิธีหลับสักตื่นช่วยใด้( ผู้เขียน ทำงานที่บ้าน)
     2.ท่ากดท้ายทอย เอามือประสานท้ายทอยบริเวณที่ติดกับบ่า แล้วค่อยๆกดไล่ขึ้นมาจนถึงท้ายทอย  ท่านี้ช่วยเวลาปวดคอ ปวดท้ายทอย หรือมืนงง ท่านี้บรรเทาปวดได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนใช้บ่อย แต่เวลาปวดมากโดยไม่รู้สาเหตุ ก็เอาไม่อยู่เหมือนกัน แต่ห้ามกดโดยการขยี้ขยำมากจะทำให้ช้ำได้
     3.ท่ากดกลางกระหม่อม ใช้นิ้วชี้ กลาง กดตรงข้าง ท้าย ของกลางกระหม่อมแล้วค่อยๆเลื่อนมาข้างหน้าจนถึงปลายผมตรงหน้าผากด้านหน้า เป็นการเปิดจักระ และทำให้สมองผ่อนคลาย ผู้เขียนก็ใช้บ่อยเพราะชอบปวดหัว มืนๆ ตื้อๆ ท่านี้ช่วยได้  โดยเริ่มจากมือซ้ายก่อนแล้วสลับขวา
     นี่คือ3ท่าที่ผู้เขียนจำได้เพราะใช้บ่อย ส่วนมีท่าอื่นๆหาดูเพิ่มเติมได้ในหนังสือ

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

รีวิวท่ากายบริหาร

จากการได้ปฏิบัติท่ากายบริหาร ตามหนังสือ ชะลอวัยด้วยกายบริหาร ของอ.สุวรรรณ  ตั้งจิตรเจริญ  ทำให้รู้สึกว่าอาการหลายอย่างดีขึ้น แต่ยังไม่ค่อยมีวินัยในการปฏิบัติท่ากายบริหารด้วยตัวเองและเพื่อเป็นการจัดระเบียบตัวเอง และเผื่อมีใครกำลังหาวิธีบรรเทาอาการปวดต่างๆด้วยตัวเอง จึงได้บรรทึกเป็นบทความ เป็นการทดสอบท่ากายบริหารต่างๆว่าบรรเทาอาการปวด ส่วนใหนอย่างไร แต่ไม่มีบทความทุกท่า เอาเฉพาะที่ผู้เขียนปฏิบัติอยู่ ส่วนรายละเอียดอื่นๆหาอ่านได้ใน หนังสือชะลอวัยด้วยกายบริหาร
     อันดับแรกเลย ต้องตรวจร่างกายตัวเองก่อน ว่ามีส่วนใหนผิดปกติ อาการรุนแรงขนาดใหน ซึ่งหากเป็นมากควรหาหมอก่อน และการกายบริหาร ไม่ควรฝืนตัวเองมาก และระวังจุดอ่อนตัวเอง
    การตรวจท่ายืน
1.ท่ายกแขนแนบหู ยกแขนขนานพื้นไม่คว่ำมือไม่หงายมือ แล้วยกขึ้นตรงๆให้แขนแนบหู ดูว่าไหล่ยกได้สุดหรือเปล่า ถ้ายกแล้วแขนไม่แนบหูแสดงว่าไหล่ติด ผู้เขียนทำแล้วไม่ติดแต่มีเสียงดังคลิกที่หัวไหล่ขวา เหมือนข้อต่อกระดูกลั่น
2.ท่าก้มหน้าคางชิดอก ก้มหน้า เงยหน้า เอียงซ้ายเอียงขวา ดูว่าติดหรือเปล่า ปวดใหม๊ กล้ามเนื้อคอ บ่า ติด ตึงใหม๊ ผู้เขียนปวดคอมาก ด้านไหล่ขวาจะตึงมากกว่าไหล่ซ้าย เสียงกระดูกคอดังกรุ๊บกรั๊บ ก้มหน้าแทบไม่ชิดคาง
3.ยืนตัวตรงก้มหน้าแตะปลายเท้า ดูการยืดยุ่นของกระดูกสันหลัง ผู้เขียนก้มแตะไม่ถึงปลายเท้าตึงมาก
    การตรวจท่านั่ง
1.นั่งเยียดขาตรง เอื้อมมือแตะปลายเท้า ผู้เขียนเอื้อมแตะปลายเท้าไม่ถึง
2.ท่ามือไพล่หลัง ไพล่ขึ้นให้สุดโดยหันฝ่ามือออก ทั้งซ้ายขวา มือซ้ายผู้เขียนไพล่ขึ้นสุดได้ แต่มือขวาได้แค่กลางหลัง อาการไม่น้อย
   การตรวจท่านอน
1.นอนหงาย เพื่อวัดความยาวส้นเท้า
2.งอพับขาเป็นเลขสี่ แล้วกดเข่าลงเพื่อดูความตึงของกล้ามเนื้อหลังซ้ายขวา และข้อต่อสะโพกผู้เขียน รู้สึกกล้ามเนื้อตึงมาก โดยเฉพาะข้อต่อสะโพก จะเจ็บพอสมควร
3.นอนราบ ยกขาขึ้นทีละข้างว่ายกได้ถึง 90 องศาใหม๊ ผู้เขียนยกได้แค่ 45องศาได้มั้ง
4.นอนหงาย ดูกระดูกสันหลังว่าเบี้ยว คด เคลื่อนหรือเปล่า

   ที่มา หนังสือ ชะลอวัยด้วยกายบริหาร

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

โรคปวดหลังเรื้อรัง

         การเจ็บป่วยเนื่องการทำงานหนักเกินไป เป็นสาเหตุที่ทำให้สุขภาพกายเสื่อมถอยลง พาให้จิตใจถดถอยไปด้วย เป็นเวลา 5ปีกว่าแล้วที่ผมต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดหลังเรื้อรัง ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทั้งกายและใจ และเป็นอุปสรรคต่อการทำงานเป็นอย่างมาก ซึ่งภายหลังอาการหนักมากปวดกล้ามเนื้อซีกขวาทั้งซีก ตั้งแต่ หัว คอ ไหล่ หลัง ปวดร้าวลงขา มือชาเท้าชา อีกอาการเป็นตอนทำงานหนัก( งานเกี่ยวกับซ่อมเครื่องยนต์)คือ นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ไม่สามารถขยับใด้ แขนแตะไม่ใด้เหมือนโดนไฟช็อต     จนเป็นสาเหตุให้ต้องตัดสินใจลาพักงานเพื่อมารักษาตัวเอง
        เข้าปรึกษากับแพทย์ที่ รพ.เลิดสิน ใด้รับคำแนะนำให้รักษาอาการปวดหัว มือชา ปลายนิ้วชาก่อนคือเกี่ยวกับ ปลายเส้นประสาทอักเสบ แต่อาการไม่แน่ชัด หมอใด้จัดยาให้มากินรอดูอาการก่อน ซึ่งตอนนี้อาการมือชานั้นทุเลาลงแล้ว สามารถใช้มือขวาใช้คอมพิวเตอร์ใด้ แต่ก็ยังรู้สึกมีอาการนิดๆ
       ส่วนอาการปวดหลัง ใด้มีโอกาสเข้าพบปรึกษากับ อ.สุวรรณ  ตั้งจิตเจริญ       ทีคลีนิคสุวรรณแพทย์แผนไทยประยุกต์ ท่านใด้นวดแก้อาการคอแข็ง หลังยึด ใหล่ติด ซึ่งอาการก็ทุเลาลง และใด้ซื้อหนังสือเกียวกับบำบัดอาการปวดร่างกายด้วยตัวเอง ซึ่งอ.สุวรรณ เรียบเรียงใว้ ตอนนี้ลองบำบัดตัวเองตามหนังสือ พอใด้ช่วยบรรเทาอาการ ซี่งตั้งใจว่ากินยาเกี่ยวกับประสาทอักเสบหมดแล้วจะไปหาหมอรักษาอาการปวดหลัง รักษาแบบจริงจังซะที
       อีกประการหนึ่งที่มีผลต่ออาการปวดหลัง คือที่นอน มีผลตอนนอน และตอนตื่นนอน ถ้าที่นอนไม่ดีจะปวดหลังมากทั้งตอนนอนและตอนตื่นนอน เวลาตื่นนอนจะปวดและเพลียมาก ไม่อยากตื่น ตอนนี้หลังจากเปลี่ยนที่นอนแบบที่ดี คือไม่นุ่มไม่ยุบตัวมากเกินไป อาการปวดทุเลาลงเยอะและไม่เพลียเวลาตื่นนอน และสามารถตื่นเช้าตี5 ใด้เลย
    ...........................................................................................................................................

       วันนี้ 18 กย. เป็นเวลาเกือบเดีอนแล้วที่หยุดพักงานเพื่อรักษาตัวเกี่ยวกับโรคปวดทั้งหลายแหล่    ทั้งปวดหลัง ปวดหัว ปวดคอ ปวดหัวเข่า มือชาเท้าชา ร่างกายอ่อนล้า อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง หงุดหงิด ซึ่งหลังจากได้พัก และกินยา และบริหารร่างกายตัวเอง อาการบางอย่างได้ทุเลาลงแล้ว คืออาการมือชาเท้าชา ร่างกายอ่อนเพลียก็ดีขึ้น  อารมณ์หงุดหงิดน้อยลง ส่วนอาการปวดหัวนั้นจะขึ้นอยู่กับอาการปวดหลัง และโดยเฉพาะอาการปวดคอและบ่าด้านขวาจะทำให้ปวดหัวอยู่มาก แต่ก็ไม่บ่อยเหมือนก่อน
       อาการต่างที่ทุเลาลงนั้นคงเพราะจากการหยุดทำงานหนัก การกินยาและการบริหารร่างกาย สำหรับยานั้นหลังจากกินยาเกี่ยวกับเส้นประสาทที่ใด้จาก รพ.เลิดสินหมดแล้วก็กินยาสมุนไพรจีนต่อ เป็นยาบำรุงร่างกาย  ยังไม่ได้ไปหาหมอเกี่ยวกับปวดหลังเพื่อรักษาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพราะติดปัญหาเรืองเงิน เนื่องจากหยุดทำงาน ตอนออกมาก็คิดแล้วว่าต้องมีปัญหาเรื่องเงินแน่นอน แต่ก็ตัดสินใจแล้วว่าต้องกลับมาจัดการสุขภาพตัวเองก่อนที่จะสายเกินไป หากว่าร่างกายและจิตใจแข็งแรงแล้วค่อยว่ากันต่อเรื่องเงิน
       ซึ่งจากการใด้ไปตรวจสุขภาพ ก็พบว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่กำลังจะเป็นหลายโรค ทั้งเบาหวาน โรคเก๊า ตับเริ่มมีปัญหา ไขมันในเลือดสูง และอีกหลายอย่าง ต้องจัดระเบียบเกี่ยวกับชีวิตตัวเองครั้งใหญ่เลย โดยเฉพาะ การกิน และการออกกำลังกาย ปัญหามันก็อยู่ตรงนี้แหละ เป็นเรื่องยากมากในการ เลือกกิน เลือกไม่กิน และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
       ตอนนี้ กำลังจัดระเบียบตัวเองอยู่ ไม่รู้ว่าจะทำได้แค่ใหน ต้องพยายามดู ก็เพื่อตัวเองนะ..

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

ความจำถดถอย'จุดเริ่มอัลไซเมอร์! ตรวจพบก่อน...รักษาได้

อาการหลง ๆ ลืม ๆ เพียงเล็กน้อย ไม่ได้สร้างปัญหาให้การดำเนินชีวิตในประจำวันติดขัด  แต่ทราบหรือไม่หากปล่อยทิ้งไว้ อาจเป็น จุดเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์และกลายเป็นโรคสมองเสื่อมขั้นรุนแรง ในที่สุด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงทั้งกับตัวเองและคนรอบข้าง
   
ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผยว่า ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น จากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2000 เฉพาะโรคอัลไซเมอร์มีผู้ป่วยประมาณ 45 ล้านคน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สำหรับในประเทศไทยก็อยู่ในช่วงที่ประชาชนมีอายุยืนยาวมากขึ้น ในเพศหญิงเฉลี่ยอายุประมาณ 82 ปี ส่วนผู้ชายประมาณ 79 ปี ฉะนั้นในวัยนี้ความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมจะสูงขึ้นตามอายุ ดังนั้นบ้านเราจึงเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ
   
ภาวะสมองเสื่อมมีหลายรูปแบบที่พบมากที่สุดคือโรคอัลไซเมอร์ ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ของโรคสมองเสื่อม โดยภาวะของสมองเสื่อมในบุคคลที่เป็นอัลไซเมอร์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใดแต่เป็นโรคที่เป็นทีละนิด ๆ สะสมก่อน ซึ่งกระบวนการนี้จะมีพยาธิสภาพในสมองเริ่มต้นจากภาวะปกติและมีวิวัฒนาการจนกระทั่งมีอาการทางคลินิก จึงเรียกว่าเป็นอัลไซเมอร์เต็มตัว ซึ่งอาการจะเริ่มต้นด้วยการสูญเสียความจำ เช่น หลงลืมบ่อยขึ้น ได้แก่ ลืมกุญแจ ลืมปิดประตูบ้าน ลืมปิดไฟ โดยไม่มีความผิดปกติทางร่างกายอย่างอื่น เช่น การเดิน การพูด ระบบประสาทสัมผัส แต่อาการเหล่านี้จะผิดปกติขึ้นในช่วงปลาย ๆ ของตัวโรค เช่น เดินไม่ได้ ถือเป็นภาวะที่ค่อนข้างช้าเกินไปในการรักษา ปัจจุบันจึงยังไม่มีการรักษาที่หายขาด มีแต่ให้ยาช่วยบรรเทาอาการทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ยังไม่เสื่อมถอยเร็วจนเกินไป
   
นอกจากอัลไซเมอร์แล้วยังมี “โรคสมองเสื่อมชนิด Lewy Body Dementia” หรือ LBD พบได้ 30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่มีโรคสมองเสื่อมและส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเพศชาย โดยโรคนี้จะทำลายเซลล์สมองเฉพาะสมองส่วนหน้า พบในคนไข้อายุประมาณ 65 ปี หรือบางคนมากกว่า 45 ปีก็เริ่มเป็นได้ ถึงแม้จำนวนจะน้อยกว่าอัลไซเมอร์ แต่มีอาการรุนแรงกว่า เพราะจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ภายใน 2 ปี “โรคสมองเสื่อมชนิด Fronto-Temporal Dementia” หรือ FTD พบประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ในผู้ป่วยที่เริ่มเกิดโรคสมองเสื่อมในอายุมากกว่า 65 ปี และมักมีปัญหาด้านการพูดที่คล่องแคล่วน้อยลง มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น โมโหร้าย “โรคสมองเสื่อมจากภาวะสมองอุดตัน” มีเส้นเลือดอุดตันเล็ก ๆ ทำให้เกิดสมองเสื่อมตามมา “โรคสมองเสื่อมจากเชื้อวัวบ้า” เกิดจากทานอาหารที่ติดเชื้อไวรัสหรือไม่ทราบสาเหตุและโรคเอดส์ พาร์กินสัน ภาวะน้ำในโพรงสมองมากเกินไปหรือโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการสัมผัสกับสารพิษ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติดทั้งหลายหรือความผิดปกติของโรคทางกาย เช่น การเผาผลาญพลังงานในร่างกายผิดปกติ
   
อีกภาวะหนึ่งที่เราเจอได้บ่อยในบุคคลทั่วไปคือ อาการหลงลืมหรือความจำถดถอย ที่เกิดขึ้นถือเป็นรอยต่อของโรคก่อนกลายเป็นอัลไซเมอร์ โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. อาการหลงลืมหรือความจำถดถอยเป็นผลจากอายุที่มากขึ้น(Age-Associated Memory Impairment : AAMI ) พบความชุก 40 เปอร์เซ็นต์ในคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป 2. อาการหลงลืมหรือความจำถดถอยที่ผิดปกติของเซลล์สมอง (Mild Cognitive Impairment : MCI)มีการลดลงของหน่วยความจำเมื่อเทียบกับเพื่อนอายุรุ่นเดียวกัน มีความจำของสมองคล้ายกับอัลไซเมอร์และประมาณ  15 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีภาวะสมองเสื่อม MCI จะพัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์ทุกปี
   
การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นในคนไข้ที่เริ่มความจำไม่ดี เช่น อายุ 45 ปีขึ้นไปมักมีภาวะหลงลืมหรือความจำถดถอยลง ซึ่งคนไข้เหล่านี้จะเสี่ยงในการเป็นอัลไซ
เมอร์หรือไม่นั้น ปัจจุบันการตรวจทางการแพทย์ที่มีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น โดยเราสามารถใช้เครื่องมือตรวจคนไข้กลุ่มนี้ได้ ดังนั้น การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นจึงสำคัญมาก เพราะการรักษาในช่วงต้นของอาการสมองเสื่อมจะช่วยชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา การแนะนำให้อ่านหนังสือ การเล่นเกม และการทำกิจกรรมส่งเสริมเรื่องความจำ โดยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้สมองเสื่อมช้าลง
   
การแยกโรคก็ถือว่าสำคัญเช่นกัน โดยแพทย์ต้องวินิจฉัยได้ถูกต้องจึงจะสามารถรักษาได้ตรงจุด เพราะการรักษาโรคสมองเสื่อมแต่ละชนิดนั้นมีการบำบัดรักษาที่แตกต่างกัน เช่น โรคอัลไซเมอร์มีการใช้ยาบำบัดแต่ยังไม่สามารถทำให้หายขาดได้ แค่ช่วยชะลอตัวโรคเท่านั้น ซึ่งตัวยาจะไปเพิ่มสารเคมีตัวหนึ่งในสมองทำให้สมองเสื่อมช้าลง แต่โรคสมองเสื่อมบางอย่างไม่มีการขาดสารเหล่านี้ทำให้การรับประทานยาไม่เกิดประโยชน์ เช่น คนไข้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมแบบ FTD จะมีอาการจิตเวชก่อน เช่น อาการซึมเศร้า จึงไปหาจิตแพทย์และรับการรักษาอยู่นาน จนกระทั่งพบว่าไม่ได้เป็นโรคจิตเวช แต่เป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งเราจะเห็นว่าแต่ละโรคจะมีการบริหารจัดการในการรักษาแตกต่างอย่างชัดเจน
   
ปัจจุบันเราจึงมีการใช้เครื่อง PET Scan ช่วยในการตรวจวินิจฉัยภาวะเริ่มต้นของสมองเสื่อมร่วมกับข้อมูลทางคลินิก จากการศึกษาพบว่าช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยได้สูงถึง 91.5 เปอร์ เซ็นต์เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้แม่นยำเพียง 66 เปอร์เซ็นต์ และกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมแล้ว เครื่อง PET Scan จะช่วยในการแยกชนิดของโรคได้ว่าเป็นชนิดใด เพราะการรู้ชนิดของโรคจะทำให้ทราบว่าควรให้การรักษาอย่างไร หลักการของ PET Scan จะให้ข้อมูลเป็นภาพถ่ายที่ไม่เหมือนกับ MRI เพราะ MRI จะบอกแต่โครงสร้าง แต่ PET Scan จะบ่งบอกถึงการทำงานของเซลล์สมอง โดยสามารถวัดการทำงานของเซลล์สมองได้ด้วยการฉีดสารที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์เข้าไปและสามารถดูการเปลี่ยน แปลงของเซลล์ในสมองได้ ซึ่งในส่วนที่มีความผิดปกติจะจับหรือใช้สารกลูโคสน้อยลง จากนั้นประมวลออกมาเป็นภาพการทำงานของเซลล์สมองในร่างกาย
   
ดังนั้นหากเรารู้จักสังเกตอาการภาวะสมองที่ถดถอยลง ได้แก่ ความจำไม่เหมือนเดิม มีพฤติกรรมหรืออารมณ์เปลี่ยน แปลงไป เช่น เคยเป็นคนสุภาพเรียบร้อยก็กลายเป็นคนโกรธง่าย หรือบางคนมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือบางคนก็เก็บตัว ไม่นอนกลางคืน หรืออาการที่พบบ่อยในระยะแรกเริ่ม ได้แก่ มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ใครบอกอะไรแล้วไม่จำ ซึ่งแต่ก่อนไม่เป็น มีความลำบากในการใช้ภาษา นึกชื่อสิ่งของไม่ออกว่าชื่ออะไร มีปัญหาเรื่องความจำ จำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไม่ค่อยได้ และอาการเหล่านี้เป็นมากขึ้นต่อเนื่องหรือบ่อยขึ้น ควรรีบมาตรวจเพื่อพบเจอรอยโรคก่อนนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องช่วยชะลออาการ
   
นอกจากการตรวจที่ทันท่วงทีแล้วการป้องกันถือว่าเป็นวิธีที่ดีมากที่เราต้องระวังปัจจัยเสี่ยง เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวาน มัน เค็ม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด พยายามออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงความเครียด ตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปี ระวังเรื่องการใช้ยา ระวังอุบัติเหตุโดยเฉพาะที่ศีรษะ ทำกิจกรรมที่มีการฝึกสมอง เช่น อ่านหนังสือ การเล่นต่อคำ การเล่นไพ่ตอง การเล่นดนตรี การร้องเพลง เต้นรำ และสุดท้ายหากใครเริ่มมีอาการหลงลืมมากผิดปกติ หรือมีญาติผู้ใหญ่ที่ต้องสงสัยควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาได้ทันท่วงที
 เดลินิวส์ วาไรตี้...

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

แนะนำท่ายืน ท่านั่ง


การมองข้ามความสำคัญของท่านั่ง ท่ายืนที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา อาทิ อาการปวดเมื่อยหลัง หรือปวดศีรษะ สำหรับท่านั่งที่ถูกต้อง คือ
-นั่งหลังตรง โดยไม่ทิ้งน้ำหนักกดสันหลังช่วงล่าง 
-ไม่งอหรือห่อไหล่ และนั่งให้เต็มเก้าอี้ 
-พิงหลังชิดพนัก หาหมอนหรือผ้าหนุนบริเวณส่วนเว้าของพนักพิง 
-วางปลายเท้าทั้งสองข้างให้ถึงพื้น และกระจายน้ำหนักให้เท่ากัน 
-พับเข่าทำมุม 90 องศา ในระดับเดียวกับสะโพก 
-ส่วนแขนปล่อยวางข้างลำตัว พร้อมนั่งแขม่วหน้าท้องเล็กน้อย หายใจให้เป็นธรรมชาติ 
- ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง เพราะเป็นการบิดตำแหน่งเชิงกรานให้ผิดลักษณะ ส่งผลให้น้ำหนักขาตกอยู่ที่เส้นเอ็นและกระดูกอ่อน 
-ขณะ นั่ง หมั่นยืดหลังให้บริเวณอกแอ่นไปด้านหน้า ค้างไว้ครั้งละ 20 วินาที เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าท้องและผ่อนน้ำหนักจากข้อต่อสันหลัง 

         
  เมื่อต้องการเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นยืน ให้ขยับตัวไปด้านหน้าของเก้าอี้ ก่อนทิ้งน้ำหนักที่ขา ยืดขาช้า ๆ พยายามอย่ายืนขึ้นในลักษณะสันหลังช่วงเอวโก่งงอ 
ส่วนท่ายืนที่ถูกต้อง คือ... 
-ศีรษะและคอตั้งตรง 
-ไม่เกร็งช่วงไหล่ และกระดูกไหปลาร้า ให้อยู่ในลักษณะผายออกอย่างผ่อนคลาย 
-สะโพกทั้งสองข้างให้อยู่ในระดับเสมอกัน 
-งอเข่าเล็กน้อย ไม่ควรเหยียดยืดให้ตรงเกินไป 
-ข้อเท้าทั้งสองข้าง ควรทิ้งน้ำหนักตัวเฉลี่ยเท่า ๆ กัน 

        การนั่งและยืนอย่างถูกต้อง นอกจากจะทำให้ดูสง่าผ่าเผยแล้วยังช่วยลดการเสื่อมของข้อต่อ ลดความตึงของเส้นเอ็น กล้ามเนื้อไม่เกิดอาการอ่อนล้า ป้องกันอาการปวดหลัง-ปวดศีรษะ ลดความเสี่ยงจากการเจ็บกล้ามเนื้อฉับพลันได้.